“สังคมผู้สุงอายุ” นับว่าเป็นหนึ่งในนโยบายหลักของประเทศที่เป็นวาระแห่งชาติ ที่ทำงานเชิงบูรณาการร่วมกับสหประชาชาติเพื่อร่วมกันขับเคลื่อนสังคมสุขภาวะของผู้สูงอายุทั้งของประเทศไทยเอง  และของทั่วโลกสู่การเป็นผู้สูงอายุคุณภาพ (Active Ageing) โดยกำหนดเป็น “ทศวรรษการพัฒนาสุขภาวะสากล 2020-2030”  โดยองค์การอนามัยโลก  (WHO) ที่สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG) ตามกรอบมาตรฐานและเจตนารมณ์ร่วมกัน โดยในส่วนของประเทศไทยเองมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเกี่ยวกับพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546 พ.ศ. 2553 และพ.ศ. 2560 โดยกรมกิจการผู้สูงอายุ  กระทรวงการพัฒนาสังคมฯ ภายใต้แนวคิดที่ว่า ผู้สูงอายุสามารถมีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคมได้อย่างแท้จริง โดยต้องได้รับการส่งเสริมจากครอบครัว ชุมชน ภาครัฐ ในการดำเนินชีวิตอย่างมีคุณค่า มีศักดิ์ศรี   จากแนวคิดและหลักการดังกล่าว ได้มีการจัดตั้งคณะทำงานขับเคลื่อนสังคมสูงวัย คนไทยอายุยืน โดยกองยุทธศาสตร์และแผนงาน กรมกิจการผู้สูงอายุที่มีการเรียงลำดับความสำคัญตามความต้องการที่แท้จริงของผู้สูงอายุอย่างเป็นองค์รวมคือ 1.การพัฒนาผู้สูงอายุในมิติเศรษฐกิจ 2. การพัฒนาผู้สูงอายุในมิติสังคม 3. การพัฒนาผู้สูงอายุในมิติสุขภาพ 4. มิติสภาพแวดล้อม เทคโนโลยี และนวัตกรรม โดยเน้นการพัฒนาผู้สูงอายุอย่างยั่งยืน  โดยเน้นการพัฒนาที่ให้ผู้สูงอายุสามารถเพื่อตอบรับกับสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีดิจิทัลและการระบาดของเชื้อไวรัส โควิด-19 ได้ด้วยตนเอง ดูแลตนเองและคนรอบข้าง และสังคมโดยภาพรวมได้ร่วมกัน 

    ดังนั้นจึงมีการเรียนในรายวิชาผู้สูงวัยดิจิทัล (Smart Ageing) ที่เน้นการนำนวัตกรรมการเรียนการสอนรวมทั้งเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือ “ไอซีที” (ICT) ที่เหมาะสมกับสภาพการเรียนรู้ของผู้สูงอายุในปัจจุบัน โดยพัฒนาเนื้อหาตามกรอบมาตรฐานต่าง ๆ ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งเมื่อเรียนจบและผ่านเกณฑ์ที่กำหนดร่วมกันแล้ว ผู้เรียนจะได้รับใบประกาศนียบัตรออนไลน์ รวมทั้งการสนับสนุนเพื่อต่อยอดคุณวุฒิของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (มสธ.)